วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Singapore Airline


 SINGAPORE :
 ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและเป็นเศรษฐกิจระบบเปิด โดยเฉพาะมีภาพลักษณ์ในความโปร่งใสต่อการบริหารประเทศ มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูงมากทั้งในภูมิภาคและเวทีการค้าโลก ตลอดจนรัฐมีส่วนแทรกแซงในการดำเนินงานของภาคเอกชนน้อยมาก และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผลผลิตมวลรวมภายในประเทศสูงที่สุดในโลก  แต่ผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้วางแผนการปรับตัวของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากบทบาทของสิงคโปร์ในอดีตที่ฐานะประเทศคนกลางในการนำเข้าวัตถุดิบและมาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออกต่อ อาทิ อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารต่างๆ อุตสาหกรรมท่าเรือและขนส่งสินค้า เป็นต้น โดยมีพื้นฐานความสำเร็จจากการให้ความสำคัญในการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประชากรของตนมีขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถเป็นแรงงานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างดียิ่ง เพื่อเข้าสู่สหัสวรรษใหม่โดยยกระดับการเป็นประเทศศูนย์กลางการเงินและอุตสาหกรรมไฮเทค พร้อมส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพสูงต่างๆ โดยผ่านทางกองทุนเทมาเซ็ก, DBS Holding, Keppel, NOL (Neptune Orient Lines), PSA (Port of Singapore Authority) Corporation, Singapore Airline, SingTel, Capitaland, และ SerCorp เป็นต้น    




Top ASEAN Brand : Singapore Airline

Corporate Background Analysis
: ก่อตั้ง พ.ศ. 2490 ในชื่อ มลายาแอร์เวย์ [Malaya Airway]”
           พ.ศ. 2515 ในชื่อ สิงค์โปร์แอร์ไลน์ [Singapore Airline]”
  ท่าอากาศยานหลัก : ท่าอากาศยานสิงค์โปร์ชางงี
  พันธมิตรสายการบิน : สตาร์อัลไลแอนซ์
  บริษัทสาขา : ซิลค์แอร์
  ขนาดฝูงบิ : 110 [ไม่รวมอากาศยานขนส่งสินค้า]
  จุดหมายปลายทาง : 62
  Company Slogan : A Great Way To Fly
  บริษัทแม่ : เทมาเสกโฮลดิงส์
  สำนักงานใหญ่ : Airline House 25 Airline Road Singapore 819829
  เว็บไซด์ : http://www.singaporeair.com


อาคารสำนักงานใหญ่ : Singapore Airline

นอกจาก Profile คร่าวๆที่กล่าวถึงสายการบินยักษ์ใหญ่อย่าง Singapore Airline แล้ว สายการบินนี้ยังมีภูมิหลัง หรือ อาจเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนต่อไป Singapore Airline จัดเป็นสายการบินที่มีความแข็งแกร่งในเอเชีย การทำการตลาดแบบ Pre-emptive โดยการเป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บ้ส เอ 380 และนอกจากธุรกิจสายการบินแล้วยังมีการขยายธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน เช่น การจัดการและวิศวกรรมอากาศยาน มรสายการบิน Silk Air เป็นบริษัทสาขาที่สิงค์โปร์แอร์ไลน์เป็นเจ้าของทั้งหมด และยังมีสิงค์โปร์คาร์โกเป็นบริษัทสาขาที่ดำเนินการบิน ฝูงบินขนส่งสินค้าและจัดการขนส่งและจัดเก็บสัมภาระบนเครื่องบินโดยสาร  สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในสายการบินเวอร์จินแอตแลนติกอยู่ 49% และลงทุนในสายการบินไทเกอร์แอร์ไลน์เป็นส่วนปันผล 49% เพื่อรับมือการแข่งขันจากสายการบินต้นทุนต่ำ สิงคโปร์แอร์ไลน์จัดว่าเป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 11 ในเอเชีย และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก
         

และที่สำคัญสิงคโปร์แอร์ไลน์ดีรับการจัดอันดับจากนิตยสารที่มีชื่อเสียงอย่าง “Fortune” ให้อยู่ในอันดับที่ 27 ในหมู่บริษัทที่เป็นที่น่ายกย่องชมเชยมากที่สุดในโลกประจำ พ.ศ. 2553 และได้มีการสร้างตราบริษัทที่แข็งแกร่ง ในฐานะผู้สร้างปรากฎการณ์ในอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะการเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรม ความปลอดภัย บริการ ที่เชื่อมโยงเข้ากับความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมั่นคง นอกตากนี้ยังได้รับรางวัลมากมาย และเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในด้านการจัดซื้ออากาศยาน มรสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Airport House ใกล้กับอากาศยานชางงีในสิงคโปร์




Singapore Airline Plane :



เครื่องบิน Airspeed Consul (VR-SCD)  ซึ่งเป็นอากาศยานประเภทแรกที่สายการบินมลายาแอร์ไลน์ใช้บิน สายการบินดังกล่าวเป็นบริษัทผู้บุกเบิกของสิงคโปร์แอร์ไลน์







เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ชื่อเครื่องว่า Megatop ที่ท่ากาศยาน Auckland ,Newzealand เครื่องบินลำนี้จัดเป็นเรือธงของสายการบินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2532จนกระทั่งเริ่มใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550




เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เครื่องบินที่เปิดตัวใน Concept "First to Fly the A380 - Experience the Difference in 2006"







เครื่องบินโบอิง 747-400 เตรียมบินออก ที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ อังกฤษ



The Business of Singapore Airline :

      โครงสร้างทางธุรกิจของสิงคโปร์แอร์ไลน์ แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งรวมถึง Aircraft Ground Handing [การเช่าอากาศยาน] Air Catering และ Tour operating และยังปรับโครงสร้างโดยแยกหน่วยปฎิบัติการออกเป็นบริษัทสาขาต่างที่สายการบินเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว [Extend Brand] เพื่อรักษาความเป็นสายการบินสำหรับผู้โดยสารอันเป็นธุรกิจหลักไว้ ตามข้อมูลปีการเงินเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบริษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกอบด้วยบริษัทสาขา 25 แห่ง บริษัทในเครือ 32 แห่ง และบริษัทร่วมทุน 2 แห่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในร้อยละ 35.5 ในบริษัทร่วมทุน Singapore Aircraft Leasing Enterprise ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศจีนในราคา 980  ล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทหลักในกลุ่มบริษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ :
บริษัทหลักในกลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้แก่
บริษัท
ประเภท
กิจกรรมหลัก
สถานที่ก่อตั้ง
การถือหุ้นของกลุ่มบรรษัท
(31 มีนาคม พ.ศ. 2550)
International Engine Component Overhaul Private Limited
ร่วมทุน
Aircraft overhaul
41%
สาขา
วิศวกรรม
81.9%
SilkAir (Singapore) Private Limited
สาขา
100%
Singapore Aero Engine Services Private Limited
ร่วมทุน
Engine overhaul
41%
Singapore Airlines Cargo Private Limited
สาขา
100%
สาขา
81.9%
Singapore Flying College Private Limited
สาขา
100%
TajSATS Air Catering
ร่วมทุน
50%
ในเครือ
34.4%
ในเครือ
49%


นอกจากนั้นสิงคโปร์แอร์ไลน์ยังมีการลงทุนเชิงปฎิบัติการโดยการลงทุนในสายการบินไม่ว่าจะเป็นเดลต้าแอร์ไลน์หรือสวิสแอร์เป็นพันธมิตรไตรภาคี เพื่อขยายตลาด ออกไปนอกสิงคโปร์ แม้ว่าผลทางการเงินมักจะเป็นไปในทางลบก็ตาม
และมีการถือหุ้นในสายการบินอื่นๆอีกโดยหวังจะได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่มีผลกำไรดีแต่ไม่นานก็ล้มเหลว
ใน พ.ศ. 2547 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เข้าสู่สายการบินต้นทุนต่ำโดยก่อตั้งสายการบินไทเกอร์แอร์เวย์ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้น 49 %
ต่อมาใน พ.ศ. 2553 ไทเกอร์แอร์เวย์ได้จดทะเบียนใน Singapore Exchange ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถืออยู่ลดลงเหลือร้อยละ 34.4

Singapore Airline Vision

    จากข้อเท็จจริงที่ได้ศึกษามาจากนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสิงค์โปร์ ในภาคบริการ ธุรกิจสายการบิน การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ จัดได้เป็นอันดับต้นๆในการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี
นอกจากนั้นทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการสนับสนุนเพื่อให้ประชากรของตนมีขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถเป็นแรงงานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างดียิ่ง เพื่อเข้าสู่สหัสวรรษใหม่โดยยกระดับการเป็นประเทศศูนย์กลางการเงินและอุตสาหกรรมไฮเทค พร้อมส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพสูงต่างๆ
โดยหนึ่งธุรกิจที่ได้รับเลือก นั่นก็คือ Singapore Airline

และที่สำคัญทางสายการบิน Singapore Airline มีนโยบายที่ต้องการขยายไปสู่ตลาดโลก เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมสายการบินและให้คำมั่นสัญญากับผู้โดยสารดั่งSlogan ที่ว่า “A Great Way To Fly” จะเลือกสรรทางที่ดี ปลอดภัย การเดินทางที่ดีที่สุดให้กับผู้โดยสาร


Marketing Communication Strategy and Global Brand Communication

  ทางสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้มีการใช้เครื่องมือการสื่อสารแบบต่อยอด ใช้ธุรกิจการบินที่มีอยู่ให้เป็นประโยค ผ่านเครื่องมือการสื่อสารต่างๆ โดยเน้นหลักๆ ที่การทำประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ผ่าน touch point ต่างๆให้แก่แบรนด์ของตน ไม่ว่าจะเป็น
การสร้างภาพลักษณ์ โดยใช้ พนักงานต้อนรับหญิงที่รู้จักในชื่อสิงคโปร์เกิร์ล [Singapore Girl] ได้รับการส่งเสริมให้เป็นสัญลักษณ์ของสายการบิน






   การส่งเสริมภาพลักษณ์และโฆษณาของสิงคโปร์แอร์ไลน์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับลูกเรือเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากสายการบินส่วนใหญ่ที่มุ่งเน้นอากาศยานและการบริการ โดยเฉพาะการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของสิงคโปร เกริล์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางและกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในโฆษณาและสิ่งพิมพ์เผยแพร่ของสายการบิน กลยุทธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์นี้มุ่งหมายเพื่อสร้างพลังให้แก่สิงคโปร์เกิร์ลให้เป็นตัวแทนของไมตรีจิตและความสง่างามแบบเอเชีย โดยมีรายการฝึกหัดลูกเรือทั้งส่วนห้องโดยสารและส่วนเทคนิคตอบสนองจุดมุ่งหมายนี้

   แม้ว่าสิงคโปร์เกิร์ลเป็นแผนการตลาดและสร้างภาพลักษณ์ที่ประสบความสำเร็จสำหรับสายการบิน แต่ก็ถูกวิพากษวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างภาพให้ผู้หญิงอยู่ในฐานะด้อยกว่าผู้ชาย กลุ่มสนับสนุนสิทธิสตรีกล่าวว่า การอ้างอิงทวัฒนธรรมสำหรับสิงคโปร์เกิร์ลนั้นล้าสมัยแล้ว และผู้หญิงชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ทันสมัยและมีเสรี

   สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้รีบรางวัลมากมายในด้านมาตรฐานบริการ และได้ประกาศว่าจะเป็นสายการบินที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในโลก
และในการสำรวจ Zagat ประจำปีครั้งที่ 29 โดย US Pollsters ปี 2550 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้อันดับที่ 1 ทั้งใน Economy Class และ First Class

    นอกจากนี้ยังเป็นอันกับ 1 ในด้าน Website ความสะดวกสบาย บริการ และอาหารสำหรับผู้โดยสารทุกชั้น

และนอกจากนั้นสิงคโปร์แอร์ไลน์ยังมอบการสื่อสาร บริการ ผ่านความบันเทิง โดยมี “KrisWorld”คริสเวิลด์






(KrisWorld) เป็นระบบความบันเทิงในระหว่างการบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เริ่มนำมาให้บริการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2540 บนเครื่องบินโบอิง 747-400และโบอิง 777-200ER ทุกชั้นโดยสารจะใช้ระบบ ไวส์แมน 3000 ที่มีภาพยนตร์ เพลง และเกมจากนินเทนโดให้เลือกได้ตามความต้องการ ผู้โดยสารในชั้น ห้องชุดสิงคโปร์แอร์ไลน์ ชั้นหนึ่ง และ ชั้นธุรกิจ จะได้รับหูฟัง Active noise-cancelling อีกด้วยFirst Class

A choice of stay at a prestigious hotel awaits you when you travel on our First Class
With Singapore Airlines First Class, you can also enjoy a complimentary one-night stay at one of Singapore's most prestigious hotels, inclusive of limousine transfers and gourmet breakfast. You can select your stay at:
Ritz-Carlton Millenia Singapore

: อีกทางเลือกหนึ่งของผู้โดยสารระดับ First Class กับการพักโรงแรมที่หรูที่สุดอย่าง The Ritz-Carlton Millenia Singapore และเดินทางสะดวกสบายด้วยรถลิมูซีน ประกอบไปด้วยอาหารเช้าสด ใหม่ ดี เพียงคุณเลือกเดินทางไปกับสิงคโปร์แอร์ไลน์

นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตหรือบริการข้อความสั้นได้ ผู้โดยสารที่ลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตจะสามารถพิมพ์บัตรโดยสารออนไลน์ได้ และผู้โดยสารที่เดินทางระยะสั้นยังสามารถลงทะเบียนเที่ยวบินขากลับได้พร้อมกับเที่ยวบินขาไปอีกด้วย

ยังมีเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดที่ Classic อีกอย่างที่สำคัญ คือ การทำSales Promotion เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้โดยสาร ให้คุ้มค่า และสมราคา อาทิ เช่น

Highlight Promotion










Fly Singapore Airlines A380 to Los Angeles and stay a night free in Singapore.
: บินจากสิงคโปร์สู่ลอสแองเจลลิส พักฟรีที่สิงคโปร์ 1 คืน







Singapore Airlines and VISA Thailand Promotion
Purchase Singapore Airlines online ticket for flights from Thailand and get an opportunity to win one of the 10 prizes of THB1,000 cash back every month through a lucky draw.
: ซื้อตั๋วของสิงคโปร์แอร์ไลน์ผ่านทางอินเทอร์เนตจากประเทศไทยดีรับโอกาสลุ้นรางวัลมูลค่า 1000 บาท 10 รางวัล จับรางวัลผู้โชคดีทุกๆ 1 เดือน








Wondering where to go for your holidays or planning a business trip? Let your journey begin with Singapore Airlines Thailand. From now until 31 August 2011, our Online Promotion offers you all-in fares at exceptional value for your desired journey to Singapore Bali, Jakarta, Cape Town and Johannesburg.
 : ตั้งแต่วันนี้จนไปถึง 31 สิงหาคมมีโปรโมชันดีดีของทริป สิงคโปร์ บาหลี จากาตาร์ และเมืองคราพ ทาวน์ในโจฮานเบริกส์








Singapore Airlines Suites
Experience the Singapore Airlines Suites and enjoy a complimentary one-night stay at the legendary Raffles Hotel.
Fly our A380 Suites and indulge in a level of comfort and privacy that goes far beyond expectations. Then extend the experience with complimentary limousine service, gourmet breakfast and an overnight stay at Singapore's other icon - the historic Raffles Hotel. 
: ต้อนรับผู้โดยสารระดับ High-end ด้วยแพคเกจพิเศษของทางสิงคโปร์แอร์ไลน์ในท่านได้ลิ้มรสความสุขกับที่พักฟรี 1 คืน ในโรงแรมระดับ 5 ดาว อย่าง legendary Raffles Hotel
ให้ความสะดวกสบาย เป็นส่วนตัว มีบริการรถลิมูซีน อาหารเช้า และโปรแกรมพิเศษตลอดทั้งการพักผ่อนของท่านได้ที่ legendary Raffles Hotel ในการเดินทางของ สิงคโปร์แอร์ไลน์









First Class
A choice of stay at a prestigious hotel awaits you when you travel on our First Class
With Singapore Airlines First Class, you can also enjoy a complimentary one-night stay at one of Singapore's most prestigious hotels, inclusive of limousine transfers and gourmet breakfast. You can select your stay at:
Ritz-Carlton Millenia Singapore

: อีกทางเลือกหนึ่งของผู้โดยสารระดับ First Class กับการพักโรงแรมที่หรูที่สุดอย่าง The Ritz-Carlton Millenia Singapore และเดินทางสะดวกสบายด้วยรถลิมูซีน ประกอบไปด้วยอาหารเช้าสด ใหม่ ดี เพียงคุณเลือกเดินทางไปกับสิงคโปร์แอร์ไลน์









Indulge yourself on our spacious Business Class cabin to our selected destinations of Singapore, Jakarta, Bali, Australia and South Africa with our exclusive Business Class promotion. 
The promotional fares are available for booking and travel from now until 31 August 2011.
: พิเศษสุดไปกับการเดินทางเพียงคุณเลือกปลายทางการเดินทางประเทศสิงคโปร์,จากาตาร์,ออสเตรเลีย,แอฟริกาใต้,ด้วยแพคเกจสุดพิเศษของ Business Class ในเดือนสิงหาคม 2011

Economy Class Promotions







Discover our exceptional value Economy Class airfares for flights from Bangkok.
: รองรับความต้องการความเป็นส่วนตัวของนักเดินทางคนเดียว ด้วยการค้นหาและรับคุณภาพการบริการของสิงคโปร์แอร์ไลน์ตลอดการเดินทาง แล้วท่านจะไม่ผิดหวัง







Check out our great 2-to-travel Economy class airfares for flights from Bangkok. At least 2 passengers must travel together on both outbound and inbound journeys.
: อีกทางเลือกของโปรโมชั้นสำหรับนักเดินทางแพคคู่ ใน Economy Class 


Global Brand Communication








ถือว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินที่ประสบความสำเร็จของการทำ Asian Branding นับว่าเป็นแบรนด์ที่มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีฐานยืนหยัดมั่นคง [established brands]หรือเป็นแบรนด์ใหม่ที่ปรารถนาอนาคตอันก้าวไกล [aspiring brand] ให้พิจารณาถึงวิถีและปัจจัยต่างๆที่ผลักดันให้แบรนด์สายการบินแห่งนี้ กลายเป็น leading brand ของโลกได้ ด้วยการรวมพลังอย่างกลมกลืนเกี่ยวเนื่องและครบองค์ประกอบทั้งจากทีมบริหารหลักไปจนถึงการจัดการองค์กรทุกๆส่วน [Insight-out organize plan] ที่ต่างก็พร้อมอุทิศ ทุ่มเทเพื่อสาน brand strategy สู่ชีวิตจริงของแบรนด์  
และแคมเปญสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์สามารถแจ้งเกิด และบุกตลาดโลกได้ คือ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ “Singapore Girl” ที่วางกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ที่เป็นสากล สำหรับการสื่อสารให้ตลาดต่างประเทศเข้าใจได้เป็นอย่างดี
เดิมก่อนที่ประเทศสิงคโปร์จะแยกตัวจากประเทศ มาเลเซียนั้น ทั้งสองประเทศยังทำธุรกิจการบินร่วมกันในชื่อ Malaysia-Singapore Airline [MSA] สิ่งที่ สิงคโปร์แอร์ไลน์นำมาด้วยเมื่อแยกตัวออก จากมาเลเซีย คือ รูปแบบการให้บริการในเครื่องบินและเครืองแบบพนักงานซึ่งออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชื่อดัง ปิแอร์ บัลแมง เป็นความชาญฉลาดของผู้บริหารสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ในขณะนั้น และ เอียน เบตี้ เจ้าของบริษัทโฆษณาเล็กๆ Batey Ads ที่เพิ่งก่อตั้ง กล้าเสนอ มุมมองการสื่อสารแบรนด์ของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์แตกต่างกว่าสายการบินทั่วไป
ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 สายการบินส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความชำนาญของนักบิน เครื่องบินรุ่นใหม่ เส้นทางบินที่ครอบคลุม แต่น้อยรายที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการ เอียน เบตี้ เจ้าของบริษัทโฆษณาเล็กๆ Batey Ads ที่เพิ่งก่อตั้งกล้าเสนอมุมมองการสื่อสารแบรนด์ของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์แตกต่างกว่าสายการบินทั่วไป66 Productivity Worldตัวอย่างของความคิดนอกกรอบที่ยังไม่มีสายการบินใดทำ คือ การที่บริษัท Batey Ads สามารถนำหุ่นขี้ผึ้ง สาวสิงคโปร์ไปจัดแสดงที่มาดามทรูโซด์ที่ลอนดอน ในโอกาสฉลองครบ 21 ปีของแคมเปญ “Singapore Girl”








สารของแบรนด์ที่ชาญฉลาดส่วนในเรื่องกลยุทธ์ด้าผลิตภัณฑ์ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ไม่ ยอมให้ใครแซงหน้าในการนำเสนอนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 2004 สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่ มเที่ ยวบินไกลที่ สุดแบบไม่ หยุดพักที่ ไหนจากสิงคโปร์สู่นครนิวยอร์ก และนครลอส แอนเจลิส ของสหรัฐอเมริกา หรือในปี 2007 ได้จัดซื้อเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก Airbus A380 เข้าประจำการ เป็นรายแรกของโลกสิงคโปร์แอร์ไลน์ ยังคงมุ่ งมั่ นพัฒนาการบริการ ทั้งด้านอาหาร ความบันเทิงบนเครื่ องบิน และที่ นั่ งที่สะดวกสบารวมทั้ง เทคโนโลยีใหม่ ๆ และเส้นทางการบินใหม่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการสื่ 
Global Brand Analysis Part :
จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมดที่กล่าวมา แบรนด์ Singapore Airline มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบทางการแข่งขัน ตามทฤษฎีดังต่อไปนี้

วิเคราะห์ตามหลัก Product/Service Life Cycle :
ถือว่าเป็นแบรนด์ที่อยู่ในช่วง Maturity ที่ต้องการการสื่อสารทางการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อย้ำเตือน [Remind] ผู้บริโภคให้ไม่ลืมเลือนแบรนด์ และให้ข้อมูล ตอกย้ำจุดยืนที่ชัดเจน [Positioning] ให้สามารถครองใจผู้บริโภคต่อไป [Top of Mind]




                         Sales Volume









                                  Introduction        Growth        Maturity        Decline



วิเคราะห์ตามหลัก S W O T
                                      
                                       Strength : Singapore Airline มีรากฐานแบรนด์ที่แข็งแกร่งมี
                                                                                   การขยายไลน์ธุรกิจเพื่อรอง
                                                                                   รับความต้องการของ
Internal Factor                                                              ผู้บริโภคที่หลากหลาย
                                              
                                         Weakness : แคมเปญการสื่อสาร Singapore Girl เกิดข้อ
                                                            พิพาททางด้านวัฒนธรรม เรื่องสิทธิสตรี


                                       
                                       


                                        Opportunities -อัตตาเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์
                                                              -มีการเติบโตและพัฒนาอย่างเข้มแข็ง
External Factor                                            ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ
-มาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ
                                        Threat         คู่แข่งขัน-การแตกไลน์ธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
                                                          พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้น


ทาง Singapore Airline ควรใช้ กลยุทธ์ S O [รุกไปข้างหน้า] เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเข้าไปฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย

วิเคราะห์ตามหลัก 4 Cs’
Consumer
ทางสายการบินค่อนข้างครอบคลุมเรื่องผู้บริโภค เพราะมีความเกี่ยวข้องกับ      stakeholder หลายคน หลายกลุ่ม และได้ทำการสื่อสารกับผู้บริโภคหลายกลุ่มดังที่ได้แตกไลน์ธุรกิจเพื่อรองรับผู้บริโภคหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Young Pragmatic,Young Aspirers หรือ High-end อย่าง Educated Progressive,etc.


Cost
สำหรับ SOV.[Share of voice] ของผู้บริโภคส่วนมากบอกได้เลยว่า สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่าสายการบินแบรนด์อื่นๆ อีกหลายๆแบรนด์ แต่ คุณภาพของเขา สมราคาจริงๆ


Convenience
มีความสะดวกในการจอง-ซื้อตั๋วด้วยหลายๆช่องทางไม่ว่าจะเป็น internet,mobile phone,etc.หรือการเสนอ sale-promotion ที่รองรับและเป็นทางเลือกเพิ่มแก่ผู้บริโภค


Communication
 มีการสื่อสารกับผู้บริโภคหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือกระทั่งสื่อยอดนิยมขณะนี้ Social network นั่นเอง



วิเคราะห์ตามหลัก Competitor Analysis : Brand+Industry Competitor
**Five Force Analysis

                                                      





การวิเคราะห์สภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมค่อนข้างรุนแรง และเศรษฐกิจทั่วโลกส่วนใหญ่ค่อนข้างถดถอยผันผวนไม่แน่นอนของระบบสังคม การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลาดของสายการบินค่อนข้างกว่างและมีการแตกไลน์เพื่อครอบคลุมธุรกิจการบิน แต่เป็นโอกาสดีที่ได้รับมาตรการสนับสนุนจากทางรัฐบาลทั้งในและสนับสนุนเพื่อตลาดต่างประเทศด้วย และยังเป็นโอกาสที่ดีที่ทางสายการบินมีการร่วมทุน-ร่วมหุ้นกับธุรกิจอื่นตามข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว
หากแต่ต้องมีการปรับกลยุทธ์การสื่อสารของแบรนด์ของบริการบางชนิดเพื่อให้เข้าไปทำความเข้าใจกับตลาดโลกได้ดี และต่อเนื่องมากกว่านี้
เนื่องจากปัจจุบันการสื่อสารของสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เลือนหายไปในวง Mass อาจเป็นการสร้างโอกาสที่ดีหสกทำความรู้จัก [Brand Awareness] กับผู้บริโภคหลายกลุ่มมากขึ้น




Index :
หนังสือ Positioning Magazine( เมษายน 2549)

นิตยสารผู้จัดการ ( มิถุนายน 2552)